ในบทนี้คุณจะได้เรียนรู้ว่า:
- CFDs คืออะไร รวมถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการเทรด
- เลเวอเรจ คืออะไรและการใช้ประโยชน์จากมันในทางปฏิบัติ
- เหตุใด CFDs จึงเป็นที่นิยม
CFDs คืออะไร?
ก่อนอื่นเรามาตอบคำถามขั้นพื้นฐานที่สุดว่า CFD คืออะไร CFD หมายถึง สัญญาซื้อขายส่วนต่าง
ตามชื่อของมันเลย สัญญาซื้อขายส่วนต่าง คือ สัญญาที่ทำกันระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย (เรียกง่ายๆ คือ 'ผู้ซื้อ' และ 'ผู้ขาย') ซึ่งอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์
มีคุณลักษณะสำคัญหลายประการของ CFD ที่ทำให้มันมีความเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ:
- CFDs เป็นตราสารอนุพันธ์
- CFDs มีการเลเวอเรจ (Leverage)
- คุณสามารถได้กำไรหรือขาดทุนทั้งจากราคาที่สูงขึ้นและลดลง
คำว่า 'ตราสารอนุพันธ์' ก็หมายความเพียงว่า เมื่อทำการเทรด CFD คุณไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงอย่างแท้จริง คุณเพียงแค่คาดเดาว่าราคาจะขึ้นหรือลง เมื่อคุณเทรด CFD เท่ากับคุณตกลงทำการแลกเปลี่ยนส่วนต่างระหว่างราคาของสินทรัพย์ ณ ช่วงเวลาที่เปิดสัญญา ไปจนถึงช่วงเวลาที่ปิด
มาอธิบายโดยเปรียบเทียบกับการลงทุนหุ้นแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการซื้อ 10,000 หุ้นของ Barclays และราคาหุ้นอยู่ที่ 280 ปอนด์ เงินลงทุนโดยรวมของคุณจะอยู่ที่ 28,000 ปอนด์ ไม่รวมค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่โบรกเกอร์ของคุณจะเรียกเก็บสำหรับการทำธุรกรรม แล้วคุณก็จะได้ใบหุ้นหรือหลักฐานการครอบครองหุ้นมา พูดอีกนัยหนึ่งคือ คุณมีหลักฐานความเป็นเจ้าของหุ้นนั้นอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถทำการขายมันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการทำกำไร
อย่างไรก็ตาม ในกรณีของ CFD คุณไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น Barclays คุณเพียงแค่คาดการณ์เพื่อที่จะทำกำไรการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเท่านั้น
เลเวอเรจ (Leverage) ในการซื้อขาย CFD คืออะไร?
เลเวอเรจ หมายความว่า คุณจะได้รับอำนาจในการซื้อขายปริมาณมากๆ ด้วยการใช้เงินต้นเพียงน้อยนิด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของคุณจะสูงกว่าการซื้อขายในรูปแบบอื่น
ลองกลับมาดูตัวอย่างจากหุ้น Barklays หากคุณจะซื้อ 10,000 หุ้น คุณต้องใช้เงิน 28,000 ปอนด์
ด้วยการเทรดแบบ CFD คุณจะใช้เงินลงทุนเป็นเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สมมติว่า XTB ให้เลเวอเรจคุณ 5:1 หรือ 20% สำหรับการเทรดหุ้น Barclays คุณจะใช้เงินแค่เพียง 5,600 ปอนด์ เพื่อที่จะซื้อหุ้นในปริมาณเดียวกัน
เมื่อราคาหุ้น Barclays เพิ่มขึ้น 10% เป็น 308p มูลค่าของสถานะจะอยู่ที่ 30,800 ปอนด์ ดังนั้น ด้วยการฝากเงินครั้งแรกเพียงแค่ 2,800 ปอนด์การซื้อขาย CFD นี้ทำให้คุณมีกำไร 2,800 ปอนด์ นั่นคือผลตอบแทน 50% จากการลงทุนของคุณเทียบกับผลตอบแทนเพียง 10% หากซื้อหุ้นโดยตรง
สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เกี่ยวกับการใช้เลเวอเรจ คือ ในขณะที่มันสามารถเพิ่มผลกำไรของคุณได้ มันก็อาจเพิ่มการขาดทุนของคุณได้ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น หากราคาไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ คุณก็จะต้องถูกปิดสถานะโดยอัตโนมัติ (margin call) หรือไม่คุณก็ต้องฝากเงินเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อคงสถานะไว้ นี่คือสาเหตุที่การเข้าใจวิธีจัดการความเสี่ยงของคุณ ถือเป็นสิ่งสำคัญ
หากบาร์เคลย์หุ้นลดลง 10% เหลือ 252p มูลค่าของสถานะคือ 25,200 ปอนด์ ดังนั้น ด้วยเงินฝากเริ่มต้นเพียงแค่ 5,600 ปอนด์ การซื้อขาย CFD นี้จะทำให้คุณขาดทุน 2,800 ปอนด์ นั่นคือผลตอบแทนการลงทุนของคุณ -50% เทียบกับผลตอบแทน -10% หากซื้อหุ้นโดยตรง
'การเทรดด้วยมาร์จิ้น' กับ CFD คืออะไร?
การเทรดด้วยมาร์จิ้นเป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้อธิบายการซื้อขายแบบเลเวอเรจ เนื่องจากเราเรียกจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการเปิดและรักษาสถานะเลเวอเรจว่า 'มาร์จิ้น'
ขอบข่าย CFDs ของ XTB
เราเสนอ CFD ให้แก่คุณ โดยครอบคลุมการเทรดสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในตลาดโลกมากกว่า 1,500 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งคุณสามารถใช้เลเวอเรจในการเทรดได้ทั้งการซื้อและขาย ในตลาดต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ฟอเร็กซ์
- ดัชนี
- หุ้น
- สกุลเงิน
- สินค้าโภคภัณฑ์
CFD มีกระบวนการอย่างไร?
ตอนนี้คุณรู้แล้วว่า CFD คืออะไร ลองมาดูกันว่า CFD มีกระบวนการอย่างไร การทำความเข้าใจหลักการต่อไปนี้และความเกี่ยวข้องกับการเทรด CFD ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า CFD ทำงานอย่างไร
- ช่วงราคา (สเปรด) และค่าคอมมิชชั่น
- ขนาดของสถานะ
- ช่วงเวลา
ช่วงราคาและค่าคอมมิชชั่น
CFDs จะถูกแสดงให้เห็นเป็นสองราคา คือ ราคาซื้อและราคาขาย ซึ่งช่วยให้คุณสามารถทำกำไรได้ทั้งจากราคาที่สูงขึ้นและลดลง
- หากคุณเชื่อว่าราคาของสินทรัพย์กำลังจะเพิ่มขึ้น คุณก็เปิดสถานะ 'ซื้อ' และคุณจะได้กำไรจากการเพิ่มขึ้นของทุกช่วงราคา
- หากคุณเชื่อว่าราคาของทรัพย์สินกำลังจะลดลง คุณก็เปิดสถานะ 'ขาย' และคุณจะได้กำไรจากราคาที่ตกลงมาทุกช่วงราคา
แน่นอนว่า หากราคาตลาดไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่คุณคาด คุณก็จะขาดทุน
ดังนั้น สมมติคุณเชื่อว่าราคาหุ้น Apple จะปรับตัวลง คุณก็แค่เปิดสถานะขาย CFD ของหุ้น Apple แล้วคุณก็จะได้กำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากราคา ณ ตอนที่คุณเปิดสถานะ อย่างไรก็ตาม หากราคาหุ้น Apple ปรับตัวเพิ่มขึ้น คุณก็จะขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ จากราคา ณ ตอนที่คุณเปิดสถานะเช่นกัน ปริมาณกำไรหรือการขาดทุนของคุณจะมากเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณสถานะที่คุณเปิดและการเคลื่อนไหวของราคาตลาด
ด้วยความที่เราสามารถเทรด CFD ได้ทั้งการซื้อและขาย บวกกับความสามารถที่จะใช้เลเวอเรจได้ ทำให้ CFD เป็นหนึ่งในการเทรดระยะสั้นที่มีความยืดหยุ่นและได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดการเงินของโลก ณ ปัจจุบัน
ขนาดของสถานะ
การเทรด CFD นั้นคล้ายคลึงกับการซื้อขายแบบดั้งเดิมมากกว่าอนุพันธ์อื่น ๆ เช่น ออปชั่นหรือการเดิมพันสเปรด สาเหตุหลักมาจากความจริงที่ว่า CFD มีการซื้อขายด้วย สัญญาที่มีมาตรฐานหรือล็อต ขนาดของแต่ละล็อตขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิงที่มีการซื้อขาย ซึ่งมักจะลอกมาจากวิธีการที่สินทรัพย์นั้นซื้อขายในตลาดจริง
ระยะเวลาของการเทรด
โดยส่วนใหญ่แล้ว CFD ไม่มีวันหมดอายุที่แน่นอน เราสามารถปิดสถานะได้ง่าย ๆ ด้วยการเปิดสถานะซื้อขายในตำแหน่งตรงข้ามกับสถานะที่เราเปิด