การเทรดในตลาดการเงินอาจดูซับซ้อนและท้าทายเมื่อคุณอยู่ในช่วงเริ่มต้น การที่มีข้อมูลมากมายให้อ่านในโลกออนไลน์ บวกกับแนวทางการตีความ แผนภูมิราคา และข้อมูลต่างๆ รวมถึงความผันผวนของตลาด อาจทำให้คุณรู้สึกถูกกดดันและตกอยู่ในความกลัวเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองยังไม่รู้ ดังนั้น คุณควรจะจำไว้ว่า พื้นฐานอันเรียบง่ายนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เรามาเริ่มต้นทำความรู้จักกับคำศัพท์ต่างๆ ที่คุณต้องพบเจอในการเทรดหรือซื้อขาย CFD
เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไรและทำไมจึงมีความสำคัญในการซื้อขาย CFDs
การเลเวอเรจช่วยให้คุณมีโอกาสได้เทรดในปริมาณที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนเงินฝากเริ่มต้น เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นเปอร์เซ็นต์เช่น 5% หรือ 10:1 ซึ่งอ้างจากจำนวนเงินฝากเริ่มต้น นั่นคือจำนวนเลเวอเรจที่มีให้คุณในการเทรดตลาดดังกล่าว
มาอธิบายโดยเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่นหากคุณต้องการซื้อ 10,000 หุ้นของ Barclays และราคาหุ้นอยู่ที่ 2.80 ปอนด์/หุ้น เงินลงทุนโดยรวมของคุณจะอยู่ที่ 28,000 ปอนด์ ไม่รวมค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่โบรกเกอร์ของคุณจะเรียกเก็บสำหรับการทำธุรกรรม
อย่างไรก็ตาม ด้วยการเทรด CFD คุณต้องมีเงินทุนเป็นเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดเพื่อเปิดสถานะและรักษาระดับสถานะเอาไว้ โปรดจำไว้ว่า เมื่อทำการซื้อขาย CFD คุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงจริงๆ สมมติว่า XTB ให้คุณใช้เลเวอเรจได้ 10:1 (หรือ 10%) ในการเทรดหุ้น Barclays ดังนั้น คุณจะต้องฝากเงินเริ่มต้นเพียง 2,800 ปอนด์เพื่อแลกกับหุ้นในจำนวนเดียวกัน
หากหุ้น Barclays เพิ่มขึ้น 10% เป็น 3.08 ปอนด์ มูลค่าของสถานะจะอยู่ที่ 30,800 ปอนด์ ดังนั้น ด้วยการฝากเงินครั้งแรกเพียงแค่ 2,800 ปอนด์การซื้อขาย CFD นี้ทำให้คุณมีกำไร 2,800 ปอนด์ นั่นคือผลตอบแทน 100% จากการลงทุนของคุณเทียบกับผลตอบแทนเพียง 10% หากซื้อหุ้นโดยตรง
หากบาร์เคลย์หุ้นลดลง 10% เหลือ 2.52 ปอนด์ มูลค่าของสถานะคือ 25,200 ปอนด์ ดังนั้น ด้วยเงินฝากเริ่มต้นเพียงแค่ 2,800 ปอนด์ การซื้อขาย CFD นี้จะทำให้คุณขาดทุน 2,800 ปอนด์ นั่นคือผลตอบแทนการลงทุนของคุณ -100% เทียบกับผลตอบแทน -10% หากซื้อหุ้นโดยตรง
ประโยชน์ของการเลเวอเรจ:
- สามารถช่วยให้คุณที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากเงินลงทุนของคุณ โดยการเปิดสถานะซื้อขายปริมาณมากๆ ด้วยการฝากเงินหลักประกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- นอกจากนี้ คุณยังสามารถเปิดสถานะเป็นปริมาณมากกว่าที่คุณจะซื้อขายได้ เกินกว่าการซื้อหุ้นแบบปกติ
- ผลตอบแทนของคุณตามสัดส่วนเงินลงทุนครั้งแรกของคุณสามารถเพิ่มมากขึ้น
- ทำให้เงินทุนของคุณเพิ่มขึ้นด้วยการลงทุนหรือการซื้อขายในสินทรัพย์ที่หลากหลาย
ความเสี่ยงของการใช้เลเวอเรจ:
- เช่นเดียวกับการทำกำไร การขาดทุนก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นด้วย
- หากตลาดเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทีคุณคาดการณ์ไว้ คุณอาจถูกปิดสถานะโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การเข้าใจวิธีการจัดการระดับความเสี่ยงของคุณ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ในโลกของการซื้อขาย FX และ CFD การใช้เลเวอเรจถือเป็นกุญแจสำคัญ
ปี๊ป (Pips)
คำว่า pip ย่อมาจาก percentage in points หรือเปอร์เซนต์ในจุดทศนิยม
ปิ๊ป (pips) คือหน่วยที่เล็กที่สุดที่ใช้ในการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละกระดานซื้อขาย
ตัวอย่างเช่น คุณจะสังเกตได้ว่า ราคาของเงินสกุลต่างๆ จะมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง นั่นหมายความว่า หากคู่เงิน GBPUSD เคลื่อนไหวจาก 1.2545 ไปเป็น 1.2546 ก็จะเรียกว่า ขยับขึ้นหนึ่งปิ๊ป อย่างไรก็ตาม สำหรับคู่เงิน USDJPY การขยับหนึ่งปิ๊ป จะเท่ากับ 0.01 เพราะคู่เงินดังกล่าวใช้ทศนิยมเพียงสองตำแหน่ง
คุณสามารถดูจากขนาดของล้อตเพื่อที่จะทราบได้ว่า ตนเองจะขาดทุนหรือกำไรเท่าไรต่อหนึ่งปิ๊ป เช่น คู่เงิน EURUSD 1 ล้อตจะมีค่าเท่ากับ 7.62 ปอนด์
นั่นหมายความว่า หากตลาดเป็นไปตามที่คุณคาดการณ์ไว้ 10 ปิ๊ป คุณจะได้กำไร 76.20 ปอนด์ (7.62 x 10) ในทำนองเดียวกัน หากตลาดเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับที่คุณคิด คุณก็จะขาดทุน 76.20 ปอนด์ (7.62 x 10) ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้ค่าปิ๊ปก่อนที่จะเปิดสถานะซื้อขาย เพื่อที่จะได้เข้าใจปริมาณกำไรและขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น
![]()
Big Figure = ค่าเต็มจำนวน + ทศนิยม 2 หลักแรก
ความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ (Ask) และราคาเสนอขาย (Bid)
เมื่อมีการเทรดในตลาดการเงิน คุณจะเห็นสองราคา คือ ราคา ask (ซื้อ) และราคา bid (ขาย)
ราคา bid จะต่ำกว่าราคา ask เสมอ และช่วงแตกต่างระหว่างราคาทั้งสอง เรียกว่า สเปรด ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนการเปิดสถานะเทรดในตลาดใดๆ ก็ตาม
ตัวอย่างเช่น หากหน้าต่างตลาดบนแพลตฟอร์มการซื้อขายของคุณอ้างอิง EURUSD ที่ 1.13956/1.13961 นั่นหมายความว่าราคา bid คือ 1.13956 และราคา ask คือ 1.13961
![]()
เมื่อคุณเปิดสถานะ Long หรือ 'ซื้อ' ในตราสารใดตราสารหนึ่ง สถานะของคุณจะถูกเปิดในราคา ask และปิดในราคา bid ในทางกลับกันเมื่อคุณ Short หรือ 'ขาย' สถานะของคุณจะถูกเปิดในราคา bid และปิดในราคา ask
โปรดทราบว่าข้อมูลที่นำเสนอนั้นอ้างอิงถึงข้อมูลผลการดำเนินที่ผ่านมา และด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือสำหรับผลการดำเนินในอนาคต
สเปรด (Spread)
ในตลาดการเงิน สเปรด คือ ค่าความต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายของตราสารที่เราเทรด สเปรดยังถือเป็นต้นทุนหลักในการเปิดสถานะซื้อขายด้วย ยิ่งสเปรดมีความแคบเท่าไร ต้นทุนก็ถูกลงเท่านั้น สเปรดยิ่งกว้างก็ยิ่งมีต้นทุนสูงขึ้น คุณยังสามารถดูสเปรดเพื่อคาดการณ์ได้ว่า ราคาตลาดต้องขยับขึ้นลงมากน้อยเพียงใดจึงจะทำให้คุณมีกำไร
ตัวอย่างเช่น สมมติว่า คู่เงิน EURUSD ของเราอ้างอิงกับราคาซื้อที่ 1.0984 และราคาขายที่ 1.0983 ดังนั้นสเปรดจะถูกคำนวณโดยการนำ 1.0983 ไปลบ 1.0984 ผลก็คือ สเปรดมีค่ารวมเท่ากับ 0.0001 หรือ 1 ปิ๊ป เมื่อคุณทำการซื้อขายในตลาด EURUSD และตลาดมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่คุณคาดอย่างน้อย 1 ปิ๊ป นั่นคือจุดที่สถานะของคุณกำลังจะเริ่มทำกำไร นั่นคือเหตุผลที่ว่า การเปิดสถานะทุกครั้ง จะเริ่มจากการขาดทุนก่อนเสมอ
วิธีคำนวณต้นทุนสเปรดด้วย xStation
หากคุณใช้ MT4 คุณจะต้องคำนวณต้นทุนสเปรดด้วยตนเอง หนึ่งในฟังก์ชั่นของ xStation คือเครื่องคำนวณการซื้อขายขั้นสูง ซึ่งระบุต้นทุนสเปรดให้กับปริมาณสถานะที่คุณจะเปิดได้ทันที ในตัวอย่างด้านล่างธุรกรรม 1 ล็อตบนกระดาน EURUSD พร้อมสเปรด 1.1 pips มีมูลค่าเท่ากับ 8.38 ปอนด์
คำสั่งตัดขาดทุน (stop loss) และวางจุดทำกำไร (take profit) คืออะไร
การตัดขาดทุน (Stop Loss)
นักเทรดที่มีประสบการณ์จะยืนยันได้ว่า หนึ่งในกุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดการเงินในระยะยาวคือ การบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ การใช้คำสั่งตัดขาดทุนเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับนักลงทุนในการจัดการความเสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง
Stop loss คือ ประเภทของคำสั่งปิดสถานะ ที่อนุญาตให้ผู้ค้าระบุระดับที่เฉพาะเจาะจงในราคาตลาด ที่หากถึงราคาดังกล่าว สถานะจะถูกปิดโดยระบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการขาดทุนเพิ่มขึ้น นี่คือที่มาของชื่อ 'ตัดขาดทุน' เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวสามารถยับยั้งการขาดทุนของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้งานคำสั่ง Stop Loss อย่างไร
![]()
ลองดูตัวอย่างด้านบน ผู้ซื้อขายได้เปิดสถานะซื้อสำหรับ EURUSD โดยคาดว่ามูลค่ามันจะเพิ่มขึ้นเหนือ 1.13961 หรือเหนือเส้นข้างบน คุณจะสังเกตเห็นเส้นบรรทัดที่สองด้านล่างซึ่งเป็นจุด Stop Loss ตั้งค่าไว้ที่ 1.13160 ซึ่งหมายความว่าหากตลาดอยู่ต่ำกว่าระดับนี้สถานะของเขาจะปิดโดยอัตโนมัติด้วยการขาดทุน ดังนั้น นักเทรดผู้นี้จะได้รับการปกป้องจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ลงต่ำกว่าจุด Stop Loss เป็นการช่วยจัดการความเสี่ยงและรักษาระดับความสูญเสียให้อยู่ในระดับต่ำสุดที่ยอมรับได้ในปริมาณที่กำหนด
ขณะที่คำสั่งตัดขาดทุนเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการบริหารความเสี่ยงและการขาดทุนของคุณก็ถูกจำกัดอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่มันไม่ได้รับประกันความเสี่ยง 100%
คำสั่งตัดขาดทุนนั้น สามารถใช้ได้ฟรีและช่วยป้องกันบัญชีเทรดของคุณจากการคาดการณ์ผิด แต่โปรดจำไว้ว่า มันไม่สามารถรับประกันว่าสถานะของคุณจะปลอดภัยในทุกกรณี กล่าวคือ หากตลาดมีความผันผวนอย่างกะทันหันและเกิดช่องว่างเกินระดับตัดขาดทุน (กระโดดจากราคาหนึ่งไปยังอีกราคาหนึ่ง โดยไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นในช่วงราคาดังกล่าว) ก็เป็นไปได้ที่สถานะของคุณอาจปิดในระดับที่แย่กว่าที่ตั้งค่าไว้ สถานการณ์แบบนี้เรียกว่า การเลื่อนหลุดของราคา (price slippage)
คำสั่งตัดขาดทุนที่มีการรับประกัน ปราศจากความเสี่ยงในการเลื่อนหลุดของราคา และให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่า สถานะจะถูกปิดในระดับที่คุณตั้งค่าไว้ เป็นคำสั่งที่เรามีให้ใช้สำหรับบัญชีทั่วไป (Basic account)
คำสั่งวางจุดทำกำไร (Take Profit)
คำสั่งจุดทำกำไร คือ คำสั่งที่ปิดการซื้อขายของคุณเมื่อถึงระดับหนึ่งของกำไร เมื่อราคาเคลื่อนไปถึงระดับกำไรที่คุณตั้งค่าไว้ สถานะจะปิดที่ราคาตลาด ณ ขณะนั้น แม้ว่าคำสั่งนี้จะหยุดการทำกำไรให้คุณเพิ่มขึ้น แต่มันก็รับประกันผลกำไรตามที่คุณกำหนดไว้ได้
- คำสั่ง Take Profit ทำงานอย่างไร
![]()
ลองมาดูจากตัวอย่างที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ นักเทรดได้เปิดสถานะขายบนกระดาน EURUSD โดยคาดว่ามูลค่าจะลดลงต่ำกว่า 1.13941 ซึ่งแสดงโดยเส้นบรรทัดบน คุณจะสังเกตเห็นเส้นบรรทัดด้านล่างซึ่งเป็นจุดเอากำไรที่ 1.12549 ซึ่งหมายความว่า หากตลาดตกลงไปถึงระดับนี้สถานะของผู้ซื้อขายจะถูกปิดโดยอัตโนมัติพร้อมกับกำไรที่ได้รับ ดังนั้น นักเทรดจะได้รับการคุ้มครองจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ลดลงต่ำกว่านั้น อย่างไรก็ตาม มันก็จะทำให้เขาอดได้กำไรเพิ่มขึ้นหากราคาลงมามากกว่าจุดที่ตั้งไว้ เพราะระบบจะเอากำไรออกมาพร้อมกับปิดสถานะ
ตราสารทางการเงินที่เรานำเสนอ โดยเฉพาะ CFD อาจมีความเสี่ยงสูง โปรดพิจารณาว่าคุณเข้าใจลักษณะของตราสาร และสามารถยอมรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุน การลงทุนตราสารทางการเงินอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดทำความเข้าใจในความเสี่ยงทั้งหมดก่อนตัดสินใจลงทุน
เนื้อหาของบทความนี้มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปและวัตถุประสงค์ในการศึกษาเท่านั้น ความคิดเห็น การวิเคราะห์ ราคา หรือเนื้อหาอื่น ๆ ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนภายใต้กฎหมายของเบลีซ
ประสิทธิภาพที่ผ่านมาไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคตเสมอ และลูกค้าที่ตัดสินใจโดยอิงจากข้อมูลนี้ถือเป็นความเสี่ยงของตนเองทั้งหมด XTB จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการสูญเสียผลกำไรใดๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการใช้หรือการพึ่งพาข้อมูลดังกล่าว การตัดสินใจซื้อขายทั้งหมดควรขึ้นอยู่กับวิจารณญาณที่เป็นอิสระของคุณเสมอ